วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บทนำ


Roman civilization.
อารยธรรมโรมัน


บทนำ
โรมก่อตัวจากหมู่บ้านทางภาคกลางของอิตาลี อุปนิสัยของโรมันคือ ความเคร่งขรึมและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ อย่างช้า ๆ แต่มั่นคง ความสามารถทางทหารของโรมันอยู่ที่ความอดทนมากกว่ายุทธวิธีที่ฉลาดปราด เปรื่องประมาณ 600 ปี ก่อน ค.ศ. บรรดาผู้อพยพต่างรวมตัวกันตั้งนครรัฐแห่งโรมขึ้น ทางเหนือของโรมติดต่อกับ อีทรูเนีย เป็นที่อยู่อาศัยของพวกที่มีอารยธรรมสูงเรียกว่า อีทรัสกัน ซึ่งเป็นพวกที่วางรูปวัฒนธรรมของชาวโรมันแต่เริ่มแรก
                  อารยธรรมโรมัน เป็นอารยธรรมที่สืบเนื่องมาจากอารยธรรมกรีก โดยชาวอิทรัสกัน (Etruscan) ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ในเอเชียไมเนอร์อพยพเข้าในแหลมอิตาลี นำเอาความเชื่อและศิลปวัฒนธรรมของกรีกเข้ามาด้วย ต่อมาบรรพบุรุษของชาวโรมันคือ ละติน ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber) ได้ขับไล่กษัตริย์อิทรัสกันออกไป ชาวละตินรวมตัวและชุมนุมกันบริเวณที่เรียกว่า ฟอรัม (Forum) ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของเมืองและเป็นจุดเริ่มต้นของกรุงโรมในเวลาต่อมา ชาวโรมันจึงรับเอาอารยธรมของชาวกรีกจากชาวอิทรัสกันมาเป็นต้นแบบอารยธรรมของตนด้วย

ที่ตั้ง ภูมิประเทศ


ที่ตั้ง ภูมิประเทศ


จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนอยู่ในการครอบครองมากมาย ได้แก่ อังกฤษและเวลส์ ยุโรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่งของแอฟริกาเหนือ บริเวณมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์ แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลีแวนท์ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ จากตะวันตกสู่ตะวันออกในปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมนี ทางภาคใต้จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมตะวันออกกลางไว้ ซี่งในปัจจุบันก็ได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน จากนั้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ จักรวรรดิได้รวบรวมอียิปต์โบราณไว้ทั้งหมด และได้ทำการยึดครองต่อไปทางตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งในปัจจุบันคือประเทศลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรียและโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิบรอลตาร์
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของโรมัน  มีที่ราบอันกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์เพาะปลูกได้เต็มที่ หุบเขาใกล้เคียงมีป่าไม้และเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ ที่ตั้งของกรุงโรมอยู่ห่างจากทะเล 15 ไมล์ เหมาะกับการทำการค้าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กรุงโรมตั้งอยู่ในทำเลที่ความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์ คือ สามารถใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม มีภูเขาและหนองน้ำกีดขวางผู้บุกรุก ประมาณ 100 ปีก่อนคริสตกาล โรมันได้รวบรวมดินแดนโดยรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไว้ในอำนาจ ปัจจัยที่สนับสนุนการแพร่อำนาจของอาณาจักรโรมันคือ การสร้างถนนที่มั่นคงถาวรไปยังดินแดนที่ยึดครอง ทำให้เกิดความคล่องตัว การขยายกองทัพและการคมนาคมขนส่ง การสร้างถนนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายอำนาจและสร้างความมั่นคงให้กับจักรวรรดิโรมัน

ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโรมัน


ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโรมัน


                ตำนานกรุงโรมถูกตั้งขึ้นเมื่อ 753 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โรมันมีความเชื่อว่าตนเองมีบรรพบุรุษจากเจ้าชายชาวทรอย มีบทบาทปรากฏในอิลเลียดของโฮเมอร์ คือ อีนีอัส ผู้ซึ่งหลบหนีหลังจากที่เมืองทรอยถูกปล้น และตั้งบ้านเรือนและมีการปกครองในบริเวณนี้ ต่อมามีลูกหลานจนถึงสมัยของสองพี่น้องคือ นูมิเตอร์  และ อามิวรุส เกิดแย่งชิงสมบัติกัน อามิวรุสสามารถแย่งชิงสมบัติจากพี่ได้แล้วประหารโอรสของพี่ชายจนหมด เหลือไว้เพียงธิดาองค์หนึ่ง ซึ่งต่อมาได้มีลูกฝาแฝดขึ้นตามตำนานว่าลูกนี้เกิดจากเทพมาร์ส เทพแห่งสงคราม เนื่องจากนางเกรงลูกจะถูกประหารจึงนำเด็กใส่ตระกร้าลอยน้ำไปแม่หมาป่ามาพบจึงนำไปเลี้ยง ต่อมาชาวบ้านเลี้ยงแกะมาพบจึงตั้งชื่อว่า โรมิวรุสและ เรมุสเมื่อเติบใหญ่ได้กลับมาฆ่าอามิวรุสและชิงสมบัติคืน จากนั้นจึงสร้างเมืองขึ้นใหม่ใช้ชื่อว่าโรมตามชื่อโรมิวรุส  ก่อนที่ชาวโรมันจะขยายอำนาจไปทั้งยุโรป คาบมหาสมุทรอิตาลีมีชนสองกลุ่มอาศัยอยู่ก่อนแล้วคือ ชาวอีทรัสกันและชาวกรีก ชาวโรมันรับอารยธรรมหลายจากชาวกรักและชาวอีทรัสกัน เช่นความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าหลายองค์ การรับตัวอักษร ความเชื่อเกี่ยวกับตำนานและศาสนาจากชาวกรัก เป็นต้น
                อิทธิพลที่ส่งต่อมาสู่การก่อกำเนิดอารยธรรม เผ่าพันธุ์ที่มีอำนาจเหนือดินแดน ชาวอีทรัสกันเป็นพวกที่รับอารยธรรมกรีกมาผสมผสานกับอารยธรรมของตนและส่งต่อให้กับโรม การปกครองของโรมในระยะแรกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ที่มีพื้นเพเป็นอิทรัสกัน ความเป็นผู้นำที่มีความสามารถและมุ่งต่อการรุกราน ทำให้ชาวโรมันเป็นชาติที่ทรงอำนาจเหนือชนชาติอื่น ๆ ในละตินอุมชุมชนโรมันเจริญทั้งกำลังและความมั่งคั่ง และแล้วก็ได้มีการสร้างวิหารใหญ่โตตามแบบสถาปัตยกรรมของอีทรัสคันขึ้นบนภูเขาแห่งหนึ่งสำหรับเทพเจ้าจูปีเตอร์ของชาวโรมัน
                ในราว 509 ก่อน ค.ศ. ขุนนางโรมันประสบความสำเร็จในการล้มกษัตริย์อีทรัสกัน และเปลี่ยนแปลงระบอบกษัตริย์มาเป็นสาธารณรัฐปกครองโดยชนชั้นขุนนาง มีประมุข 2 คน แทนที่กษัตริย์เรียกว่ากงสุลสภาขุนนาง (สภาเชเนท) เลือกตั้งกงสุลเป็นประจำทุกปี กงสุลปกครองโดยมีสภาขุนนางเป็นที่ปรึกษาการปกครองนั้น แม้จะปกครองในนามชาวโรมันแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของชนชั้นสูง คือ แพทริเชียน ส่วนชนชั้นต่ำหรือเพลเบียนนั้น เกือบไม่มีสิทธิทางการเมืองเลย การแต่งงานระหว่าง เพลเบียนกับแพทริเชียนยังเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในระยะแรก ๆ พวกเพลเบียนค่อย ๆ ยกฐานะของตน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง ในชั้นแรกพวกนี้รวมกลุ่มกันจัดตั้งสภาที่ปรึกษา ซึ่งต่อมากลายเป็นองค์กรสำคัญทางการเมืองที่เรียกว่าสภาของเผ่า พวกเพลเบียนเลือกตัวแทนของตนเรียกว่า ทรีบูน ให้เป็นปากเสียงและเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของตนในรัฐบาลซึ่งคุมโดยแพทริเชียน ทรีบูนเป็นพวกที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
                เมื่อประมาณ 450 ก่อน ค.ศ. ได้มีการนำกฎหมายที่สืบทอดกันมาตามประเพณีมาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ กฎหมายนี้ช่วยพิทักษ์บรรดาเพลเบียนให้พ้นจากอำนาจตามอำเภอใจของกงสุลที่มาจากชนชั้นแพทริเชียน กฎหมายสิบสองโต๊ะนี้นับว่ามีความสำคัญมากต่อพัฒนาการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญของโรมัน การพิทักษ์ทางกฎหมาย ทำให้เพลเบียนสามารถจัดการกับเรื่องการจัดสรรที่ดินให้พวกตนได้รับการแบ่งปันบ้าง สภาของเป่าของพวกเพลเบียนได้รับอำนาจในการริเริ่มร่างกฎหมายและมีบทบาทในการปกครองโรมัน ช่วงนี้การแต่งงานกลายเป็นสิ่งไม่ต้องห้าม ต่อมามีกฎหมายที่รองรับให้เพลเบียนมีบทบาทในการปกครองมากขึ้น มาตรการเหล่านี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโรมไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสำเร็จบริบูรณ์ในปี 287 ก่อน ค.ศ.
                การแผ่อำนาจของโรมนั้น มีทั้งการเป็นพันธมิตรและการทำสงครามกับพวกที่เป็นศัตรู อาณาจักรของโรมขยายตัวไปเรื่อย ๆ แต่ชาวโรมันมักจะใจกว้างต่อบรรดาชาติอิตาลีที่ตนเข้าปกครอง โดยยอมให้มีการปกครองตนเองมากพอสมควร จึงมักประสบความสำเร็จในการรักษาความสวามิภักดิ์ไว้ได้ ในเวลาต่อมาเมื่อพิสูจน์ว่าคนในปกครองจงรักภักดีก็จะยอมให้เป็นพลเมืองโรมัน ด้วยวิธีการนี้โรมจึงสามารถสร้างจักรวรรดิที่มีอายุยืนยาวกว่าจักรวรรดิเอเธนส์ของเพริเคลส เมื่อประมาณ 265 ก่อน ค.ศ. โรมอยู่ในฐานะที่ทัดเทียมกับคาร์เธจและนครรัฐทายาทของกรีก คือ เป็นหนึ่งในมหาอำนาจของทะเล เมดิเตอเรเนียน
                

ผู้สร้าง อายุสมัย


ผู้สร้าง อายุสมัย


                สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของอาณาจักรโรมัน  คือด้านการเมืองการปกครอง  ซึ่งความโดดเด่นนี้ส่งผลต่อด้านกองทัพ และผู้นำด้วย  แต่ทางการเมืองก็ค่อนข้างที่จะไม่มั่นคง  สังเกตได้จากจำนวนของจักรพรรดิและผู้นำทางการเมืองจำนวนไม่น้อยเลยที่มีการตายอย่างผิดธรรมชาติ บทบาทของผู้นำโรมันมีส่วนในการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆซึ่งมีงานศิลปกรรมจำนวนไม่น้อย  เช่น  อาคารสาธารณะ สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่อิงอยู่กับวัตถุประสงค์ด้านการเมืองการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องเทพเจ้า สมมติเทพของกษัตริย์
                ในการจำแนกประวัติศาสตร์โรมันนั้นอาจจำแนกได้เป็น 2 ยุคใหญ่ๆคือยุคสาธารณรัฐและยุคจักรวรรดิ

สมัยสาธารณรัฐ
                หลังจากพิชิตอีทรัสกันได้ก็มีการขยายดินแดนออกไปในแหลมอิตาลี  เนื่องจากมีความสามารถทางการทหารและการปกครอง การปกครองใช้ระบอบสาธารณรัฐแทนระบอบกษัตริย์ตามแบบอารยธรรมโบราณอื่นๆ พลเมืองโรมันจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือกลุ่มที่เป็นผู้บริหารและชนชั้นปกครองกับราษฎรธรรมดาทั่วไป ในสมัยแรกๆกลุ่มผู้บริหารและชนชั้นปกครองจะมีอำนาจในการปกครองและออกกฎหมายมาก  ในขณะที่ราษฎรธรรมดาแทบไม่มีสิทธิเหล่านี้เลย จนกระทั่งราวปี 450 ปีก่อนคริสตร์กาล กลุ่มพลเมืองธรรมดาจึงเริ่มมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีผู้แทนของตนเข้าไปมีส่วนร่วมในระบอบการปกครองในระบบสภาผู้แทน
สมัยจักรวรรดิ์โรมัน
                ในสมัยนี้จักรพรรดิ์กลายเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียวทั้งทางด้านการปกครองหรือศาสนา ตั้งแต่ยุคออคตาเวียน ซึ่งภายหลังสถาปนาตนเป็นออกุสตุส  ซีซาร์ ในสมัยนี้สงครามใหญ่ๆไม่ค่อยมี ด้วยประชาชนเห็นว่าการปกครองแบบจักรวรรดิสงบเรียบร้อยกว่าแบบสาธารณรัฐ บ้านเมืองจึงสงบสุข มีอำนาจและร่ำรวยที่สุดในโรม ออกุสตุสได้ใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างอาคารสาธารณประโยชน์ใหม่ๆและใหญ่ๆมากมายการปกครองตั้งแต่ยุคออกุสตุสเป็นต้นมามีความสุขสงบจนได้ชื่อว่าเป็นสมัยสันติภาพโรมัน  
ยุคสมัยและจักรพรรดิของโรมัน


จักรพรรดิที่สำคัญของโรมัน

1. ซีซาร์ ออกุสตุส (Augustus) 30 ปีก่อน ค.ศ.ค.ศ. 14 นับเป็น ยุคทองของโรม
ออกุสตุส มีนามเดิมว่า ออคเตเวียน เป็นหลานของจูเลียส ซีซาร์  ออคเตเวียน มีความเฉลียวฉลาด ตั้งแต่เด็กและ จูเลียส ซีซาร์ ให้ออกรบด้วยกัน จนกระทั่งจูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร เขาเป็นบุตรบุญธรรม และทายาททางการเมืองตามพินัยกรรม และ ครองอาณาจักรโรมันฝั่งตะวันตก ขึ้นครองราชย์เป็้นจักรพรรดิโรมพระองค์แรก และปฏิรูปโรมอย่างสมบูรณ์  เขายึดถือว่าความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่การพิชิตแต่อยู่ที่การเสริมสร้าง ออกุสตุสใช้ชีวิตที่ง่าย ๆ ไม่ฟุ้งเฟ้อ   เขาปกครองโดยรู้สำนึกถึงความคิดเห็นของประชาชนและสภาเซเนท ตลอดจนเคารพจารีต ประเพณี แต่ออกุสตุสก็เป็นเจ้าเหนือหัวที่แท้จริงของโรม ออกุสตุสให้สันติภาพความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง และความยุติธรรมรวมทั้งนโยบาย “อาชีพ เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถ” ความเป็นผู้นำของเขากระตุ้นให้เกิดการมองโลกในแง่ดี ความรักชาติ และการริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม ยุคนี้เป็นจุดสุดยอดของความเป็นเลิศในเชิงสร้างสรรค์ของโรมและได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทอง




2. ทิเบริอุส (Tiberius) ค.ศ. 14-37 ในยุคนี้ได้มีการเพิ่มอำนาจจักรพรรดิและลดอำนาจของสภาราษฎร
สังคมโรมันเริ่มระส่ำระส่าย เขาถูกแทคซิตุส(Tacitus) ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์โรมันกล่าวหาว่า เป็นจอมเผด็จการ แต่ทิเบริอุสเองก็ผลงานดีเด่น คือการรวมเอาเยอรมันเข้ามารวมเข้ามารวมเป็นจักรวรรดิ
3. เนโร (Nero) ค.ศ. 54-68 เป็นจักรพรรดิที่โหดเหี้ยม เพราะฆ่าพระมารดา พระอนุชา ชายา 2 องค์ รวมทั้งพระอาจารย์ของพระองค์เองคือ เซเนคา (Seneca) รวมทั้งเป็นผู้ที่ทำการจุดไฟเผากรุงโรม เพียงเพื่อความบันเทิงของตัวเอง ป้ายความผิดให้พวกคริสเตียน และประหารชีวิตเป็นจำนวนมาก จักรพรรดิเนโรปลงพระชนม์พระองค์เอง ใน ค.ศ. 68



3. มาร์คุส ออเรลีอุส (Marcus Aurelius) ค.ศ. 161-180 นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจักรพรรดิที่มี 5 พระองค์ (ค.ศ. 96-180) รัชสมัยของพระองค์นี้ถือว่าเป็นสมัยสุดท้ายของ สันติภาพโรมัน (Pax Romana) ซึ่งคงอยู่ระหว่าง 27B.C.–180A.D. นับเป็นปีแห่งสันติสุขโรมัน และเป็นช่วงระยะที่อารยธรรมเฮลเลนิสติคแผ่ขยายออกไปในจักรวรรดิมากที่สุด


4. คอนสแตนติน (Constantine) ค.ศ. 312-337 รวมจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิเดียวกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และย้ายเมืองหลวงจากโรมไป ไบแซนติอุม (Byzantium) เปลี่ยนเรียกชื่อใหม่ว่า คอนสแตนติโนเปิล” (Constantinople) ตามพระนามของพระองค์ (ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบุล) โดยเจตนาจะให้เป็นศูนย์กลางของการปกครองดินแดนทั้งภาคตะวันตกและตะวันออก แต่การทั้งนี้กลับทำให้ประชาชนเริ่มรู้สึกแบ่งแยกทางจิตใจ ทางตะวันตกซึ่งมีอิตาลี สเปน โลกยังยึดอารยธรรมโรมันอยู่ (Romanization) แต่ทางตะวันออกซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล และเอเชียโมเนอร์ต่างรับอารยธรรมกรีก (Hellenization) และเมื่อคอนสแตนตินประกาศ กฤษฎีกาแห่งมิลาน” (Edict of Milan) แล้ว คริสตศาสนาก็สามารถเผยแพร่ในอาณาจักรโรมได้

รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม


รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

จิตรกรรม

 ประติมากรรม

สถาปัตยกรรม

                ชาวโรมันยอมรับในศิลปะกรีก  และได้พิจารณาว่า วัฒนธรรมและศิลปะกรีกนั้นเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่นใดแต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบ้างให้สอดคล้องกับอุปนิสัย ธรรมเนียมประเพณีและความคิด ทำให้งานทั้งสองชาติต่างกันบ้างโดยกรีกเน้นความเรียบง่ายสง่างาม เพื่อแสดงพุทธิปัญญาและความเป็นปราชญ์ แต่โรมันเน้นความหรูหรา สง่างาม อำนาจ ศิลปกรรมสนองความต้องการทางกายและความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิ์         
                จักรวรรดิ์โรมันได้ยึดเอารูปแบบลักษณะศิลปกรรมของกรีกอย่างชัดเจน จักรวรรดิ์โรมัน  ได้ขนเอางานศิลปะของกรีกจำนวนนับพันรวมถึงการ คักลอกอีกจำนวนมาก  ซึ่งมีงานศิลปะของกรีกจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันที่เรารู้จักผ่านการ คัดลอกของโรมัน เทพของกรีกถูกดัดแปลงสู่ศาสนาของโรมัน Jupiter จากภาษากรีกเป็นภาษาละติน กลายเป็น Zeus เทพ Venus กลายเป็น Aphrodite และอื่นๆอีกมาก
                ในช่วงแรกๆโรมันใช้แบบแผนสถาปัตยกรรมของกรีก ในการก่อสร้างอาคารและวิหารของตน ในเรื่องของการประดับตกแต่งอย่างมากมาย มีศิลปินโรมันจำนวนหนึ่งที่เป็นชนเชื้อชาติกรีกจนกระทั่งต่อมาเขาทั้งหลายได้กลายเป็นคนโรมันไปในที่สุด  ในช่วงหลังโรมันมีการพัฒนาด้านศิลปกรรมมากขึ้นโดยเฉพาะเห็  นได้อย่างชัดเจนด้านสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตัวและเทคนิคที่มีความโดดเด่น แม้กระทั่งในยุคปัจจุบันสถาปัตยกรรมจำนวนมากก็ได้อิทธิพลทางด้านรูปแบบและวิธีการมาจากโรมัน

จิตรกรรม


จิตรกรรม

                 โรมันเป็นชาติที่มีความชำนาญด้านจิตรกรรม แต่เราจะรู้จักจิตรกรรมโรมันเพียงเล็กน้อยกว่าจิตรกรรมกรีก   ส่วนใหญ่อาศัยจากการค้นคว้าข้อมูลจากเมืองปอมเปอี   สตาบิเอ   และ เฮอร์คิวเลนุม ซึ่งถูกถล่มทับด้วยลาวาจากภูเขาไฟวิสุเวียส เมื่อ พ.ศ. 622 และถูกขุดค้นพบในสมัยปัจจุบัน        จิตรกรรมที่เหลือมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น มีการวาดภาพที่มีสถาปัตยกรรมประกอบเรื่องราว มีการใช้แสงเงา ใช้เทคนิคการวาดแบบ Perspective แม้จะดูมีระยะใกล้ไกล แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์นักด้วยข้อจำกัดด้านวิทยาการ เช่นที่ Villa of the Mysteries ใกล้เมืองปอมเปอี  การวาดแสงเงามีปรากฏให้เห็นที่ Villa Farnesian 
                 นอกจากนี้ยังมีการวาดด้วยเทคนิคการลวงตา เช่น  วาดหน้าต่างให้มองเห็นวิวหลอก วาดเสาให้ดูทำหน้าที่คล้ายกับเสาจริง ซึ่งมักเขียนเลียนแบบหินอ่อน เขียนด้วยเทคนิค Fresco บน  กำแพงของบ้านพัก มีการสร้างทัศนียภาพเชิงบรรยากาศและผลการรับรู้ด้าน 3 มิติถูกทำให้เกิดด้วยเทคนิค Chiaroscuro มีที่ ปอมเปอี หรือการวาดที่ดูคล้ายการนำรูปภาพหลายๆรูปมาประดับตกแต่งผนัง เช่นที่ House of yhe Vetii เนื้อหาในการวาดส่วนมากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า ทิวทัศน์หรือพิธีกรรม  รวมทั้งจิตรกรรมผาฝนังประกอบด้วยแผงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็น ภาพคน แสดงกายวิภาคของมนุษย์ชัดเจน เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกับกาวน้ำปูน และสีขี้ฝึ้งร้อน นอกจากการวาดภาพ ยังมีการทำโมเสก คือภาพประดับด้วยเศษหินสี ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งบนพื้นและผนังอาคาร  
 เทคนิค Fresco บน  กำแพง


การทำโมเสก

ประติมากรรม


ประติมากรรม
ประติมากรรมในสมัยโรมัน จำแนกออกได้เป็น 2 แบบ



                1 นิยมทำภาพนูนสูงประดับอนุสาวรีย์หรือบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในยุคนั้น ประดับตัวสถาปัตยกรรม  ชิ้นที่เก่าแก่มากคือ The Altar of Peace แท่นบูชาสันติภาพสร้างโดยจักรพรรดิ์ ออกุสตุส ราว 13-9 BC เป็นอนุสรณ์การกลับคืนสู่โรมหลังจากการรบในต่างแดน
                เสาของทราจัน(The Column of Trajan)สร้างโดยสภาเซเนทและประชาชน ทราจัน เป็นจักรพรรดิที่ทรงอำนาจของโรม บทบาทของเขาไม่เพียงในทางการเมืองแต่เป็นเรื่องการทหารด้วย ขยายดินแดนของจักรวรรดิและปกป้องมันจากการรุกรานภายนอก ชัยชนะของเขาได้เฉลิมฉลองโดยใช้เสาแห่งชัยชนะเป็นอนุสาวรีย์อยู่ในกรุงโรม เสาเป็นอนุสาวรีย์ที่บันทึกเหตุการณ์ สร้างขึ้นราว ค.ศ. 113 บริเวณโฟรัมของทราจันเอง เป็นเสากลมสูง 128 ฟุต เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ฟุต ยอดเสามีรูปปั้นทราจันสูง 13 ฟุตปัจจุบันเปลี่ยนเป็นรูปเซ็นต์ปีเตอร์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 รูปทราจันเองสูญหายไป โคนเสาเป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 12x 12 ฟุต มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรจุศพของทราจันและเป็นอนุสรณ์แก่ชัยชนะในการรบต่อพวกดาเชี่ยน

2.ทำรูปเหมือนบุคคล


                นิยมมาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐ มาถึงสมัยจักรวรรดินิยมก็ยังคงนิยมอยู่แต่ต่างกันบ้างในรายละเอียดคือสมัยสาธารณรัฐนิยมทำภาพเหมือนจริงของบุคคลให้มีความเหมือนตามจริงมากที่สุดแต่ในสมัยจักรวรรดินิยมชอบให้แสดงออกถึงลักษณะอันสง่างาม เป็นอุดมคติ โดยเฉพาะรูปชนชั้นสูงจะดูสง่างามราวเทพ  เจ้าของกรีก เป็นการผสมผสานระหว่างความเหมือนจริง (Realism) กับความเป็นอุดมคติ (Idealism) ส่วนรูปประชาชนทั่วไปก็ยังคงมีลักษณะแบบเหมือนจริงเช่นเดิม  ซึ่งจะเต็มไปด้วยลักษณะสมจริงของตัวบุคคลอย่างชัดเจน มีลักษณะของแบบอย่างอุดมคติน้อยที่สุด

สถาปัตยกรรม


สถาปัตยกรรม




                โรมันได้ผสมผสานความรู้ด้านสถาปัตยกรรมจากกรีกและอีทรัสกันและนำความรู้นั้นมาสนองความต้องการของตนเองซึ่งคำนึงถึงด้านประโยชน์ใช้สอยมากกว่าฉพาะเพียงด้านความงาม นอกจากจะนำรูปแบบหัวเสาของกรีกมาใช้ โดยเฉพาะนิยมนำแบบคอรินเธียนมาใช้แล้วยังมีการคิดประดิษฐ์หัวเสาที่เรียกว่าคอมโพซิต (Composite)โดยมีลักษณะผสมผสานระหว่างไอโอนิคกับคอรินเธียน มีการนำระบบก่อสร้างแบบ Arch กับ Vault ซึ่งพวกอีทรัสกันเคยใช้มาพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้ามากขึ้น เช่นนำ Vault มาทำโครงสร้างหลังคาสร้างเป็นรูปโดม ด้านวัสดุก่อสร้างนอกเหนือจากหินอ่อนมีการนำหินลาวาและดินบางชนิดจากภูเขาไฟมาใช้ วัสดุเหล่านี้มีความทนทานเหมาะที่จะทำถนน นอกจากนี้ในยุคหลังๆยังมีการค้นพบซีเมนต์ จากการผสมทราย ปูนขาว หินซิลิกา หินจากเถ้าภูเขาไฟและน้ำมาผสมกัน ซึ่งทำให้การก่  อสร่างมีความรวดเร็ว คงทนและประหยัด
                โรมันเน้นประโยชน์ทางด้านการปฏิบัติและหลักความจริงมากกว่าอุดมคติดังเช่นกรีก ดังนั้นสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงเป็นอาคาร สิ่งก่อสร้าง ถนน สาธารณะมากกว่าวิหารเทพเจ้า สถาปัตยกรรมของโรมันได้แก่


                1. โฟรัม(Forum)  เป็นย่านชุมนุมชน สถานที่ราชการ ตลาด โฟรัมจะมีอยู่ในทุกๆเมือง ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนพลเมืองหากเมืองมีขนาดเล็กโฟรัมก็จะมีแห่งเดียวแต่หากเป็นเมืองใหญ่ก็อาจมีหลายโฟรัม โฟรัมจะมีลักษณะเป็นลานกว้างแต่บางแห่งอาจจะมีหลังคา บริเวณรอบๆจะรายล้อมด้วย อาคาร สถานที่ราชการ วิหาร หอสมุด


                2. บาซิลิกา(Basilica)  เป็นชื่อเรียกอาคารขนาดใหญ่ซึ่งใช้เป็นศาลยุติธรรมและอาคารพาณิชย์ของรัฐ


                3. โรงละครและสนามกีฬา(Theatres and Amphitheatres)  เป็นสถานที่พักผ่อนชมกีฬา ชาวโรมันมีด้วยกันหลายแห่งแห่งที่มีชื่อคือ Colosseum สถาปนิกได้ดัดแปลงจากโรงละครกลางแจ้งของกรีกให้กลายมาเป็นสนามกีฬา เพื่อใช้เป็นสถานที่ต่อสู้ของคนกับคนและคนกับสัตว์โดยเน้นการฆ่าฟันถึงตาย โดยคนดูมีส่วนร่วมในการตัดสิน การก่อสร้างโคลอสเซียมใช้ระบบ Arch และ Vault รับคานซึ่งแบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ชั้น มีการใช้เสาประดับแตกต่างกันไป


                4. สนามกีฬาหรือเซอร์คัส(Circus) ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของโรมันอีกแห่ง ส่วนใหญ่ใช้แข่งม้า ที่มีชื่อเสียงมากคือสนามกีฬา แมกซิมุส The Circus Maximus เป็นอีกที่ที่มีคนตายมากเพราะในการแข่งไม่มีกติกาใดๆทั้งสิ้นจะชนรถคู่แข่งให้คว่ำก็ได้ จะทับคนที่นอนอยู่ให้ตายก็ได้ ขอเพียงให้เข้าถึงเส้นชัยถือเป็นชัยชนะ



                5. วิหาร(Temple)  ที่สำคัญในยุคจักรวรรดิต้นคือวิหารแพนเธออน(Pantheon)หมายถึง The temple to all of God Pantheon  เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญ ผังของแพนเธออน ทางเข้าด้านหน้าทำเป็นมุขเหมือนวิหารกรีก ที่มีเสาตั้งเรียงกันอยู่เป็นเสาแบบคอรินเธียน ส่วนด้านในเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายถังน้ำมันขนาดใหญ่ หลังคาเป็นโดมครึ่งวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 144 ฟุต ตัวโดมทำด้วยคอนกรีต ตรงกลางเจาะรูให้เห็นท้องฟ้าและรับแสงสว่างเรียกว่า Oculus แปลว่าตา(ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์ของตาจากสวรรค์)เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ฟุต ความสูงจากพื้นถึงหลังคาประมาณ 140 ฟุต  

      
                6. โรงอาบน้ำสาธารณะหรือเธอเม(Thermae or Bath) Thermae มาจาก Thermos แปลว่าร้อนในภาษากรีก ใช้สำหรับเรียกชื่ออาคารสถานที่ที่ใช้สำหรับอาบน้ำกับที่ออกกำลังกายในร่มของชาวโรมัน
ในสมัยอาณาจักรต้น เธอเมจะทำอย่างวิจิตรและหรูหราและฟุ่มเฟือย เนื่องจากโรงอาบน้ำนั้นเป็นที่บำรุงความสุขของคน และคนส่วนน้อยที่ร่ำรวยเท่านั้นจึงจะเป็นเจ้าของได้เพราะการอาบน้ำจะทำไปพร้อมกับการอบตัว ดังนั้นรัฐจึงจัดสถานที่ เช่น โรงมหรสพ สนามกีฬา สถานที่อาบน้ำสาธารณะ สำหรับคนทั่วไปให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ นอกจากจะใช้เป็นที่อาบน้ำและอบตัวแล้วในบางครั้งอาจใช้เป็นที่พบปะ ประชุม พูดคุย ถกกันในเรื่องต่างๆของชนทุกชั้น


                7. ประตูชัย(Triumphal Arch)จัดเป็นอนุสาวรีย์ประเภทหนึ่ง สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะจากสงคราม สร้างโดยจักรพรรดิ์ นิยมสร้างคร่อมถนนโดยทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ตรงกลางทำเป็นทางลอดและประตูโค้ง บริเวณส่วนหน้าและหลังประดับด้วยประติมากรรมและข้อความจารึกเหตุการณ์หรือวีรกรรมของผู้สร้างที่ได้ชัยชนะจากสงคราม


                8. สะพานและท่อส่งน้ำ(Bridges and Aqueduct) การทำท่อน้ำมีทั่วไปในอาณาจักรโรมันเพื่อบริการน้ำสะอาดแก่ประชาชน เพราะเป็นบริการจากรัฐ น้ำจะแยกจากท่อใหญ่ไปตามท่อเล็กๆที่ทำด้วยตะกั่ว ท่อดินเผา หรือท่อไม้เข้าสู่เธอเม บ้านเรือน หรือตามที่สถาธารณะ