ผู้สร้าง อายุสมัย
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของอาณาจักรโรมัน คือด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งความโดดเด่นนี้ส่งผลต่อด้านกองทัพ
และผู้นำด้วย แต่ทางการเมืองก็ค่อนข้างที่จะไม่มั่นคง
สังเกตได้จากจำนวนของจักรพรรดิและผู้นำทางการเมืองจำนวนไม่น้อยเลยที่มีการตายอย่างผิดธรรมชาติ
บทบาทของผู้นำโรมันมีส่วนในการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆซึ่งมีงานศิลปกรรมจำนวนไม่น้อย เช่น
อาคารสาธารณะ สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่อิงอยู่กับวัตถุประสงค์ด้านการเมืองการปกครอง
ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องเทพเจ้า สมมติเทพของกษัตริย์
ในการจำแนกประวัติศาสตร์โรมันนั้นอาจจำแนกได้เป็น
2 ยุคใหญ่ๆคือยุคสาธารณรัฐและยุคจักรวรรดิ
สมัยสาธารณรัฐ
หลังจากพิชิตอีทรัสกันได้ก็มีการขยายดินแดนออกไปในแหลมอิตาลี เนื่องจากมีความสามารถทางการทหารและการปกครอง
การปกครองใช้ระบอบสาธารณรัฐแทนระบอบกษัตริย์ตามแบบอารยธรรมโบราณอื่นๆ
พลเมืองโรมันจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือกลุ่มที่เป็นผู้บริหารและชนชั้นปกครองกับราษฎรธรรมดาทั่วไป
ในสมัยแรกๆกลุ่มผู้บริหารและชนชั้นปกครองจะมีอำนาจในการปกครองและออกกฎหมายมาก ในขณะที่ราษฎรธรรมดาแทบไม่มีสิทธิเหล่านี้เลย
จนกระทั่งราวปี 450 ปีก่อนคริสตร์กาล กลุ่มพลเมืองธรรมดาจึงเริ่มมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น
มีผู้แทนของตนเข้าไปมีส่วนร่วมในระบอบการปกครองในระบบสภาผู้แทน
สมัยจักรวรรดิ์โรมัน
ในสมัยนี้จักรพรรดิ์กลายเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียวทั้งทางด้านการปกครองหรือศาสนา
ตั้งแต่ยุคออคตาเวียน ซึ่งภายหลังสถาปนาตนเป็นออกุสตุส ซีซาร์ ในสมัยนี้สงครามใหญ่ๆไม่ค่อยมี
ด้วยประชาชนเห็นว่าการปกครองแบบจักรวรรดิสงบเรียบร้อยกว่าแบบสาธารณรัฐ
บ้านเมืองจึงสงบสุข มีอำนาจและร่ำรวยที่สุดในโรม
ออกุสตุสได้ใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างอาคารสาธารณประโยชน์ใหม่ๆและใหญ่ๆมากมายการปกครองตั้งแต่ยุคออกุสตุสเป็นต้นมามีความสุขสงบจนได้ชื่อว่าเป็นสมัยสันติภาพโรมัน
ยุคสมัยและจักรพรรดิของโรมัน
จักรพรรดิที่สำคัญของโรมัน
1. ซีซาร์ ออกุสตุส (Augustus) 30 ปีก่อน ค.ศ.–ค.ศ. 14 นับเป็น “ยุคทองของโรม”
ออกุสตุส มีนามเดิมว่า ออคเตเวียน
เป็นหลานของจูเลียส ซีซาร์
ออคเตเวียน มีความเฉลียวฉลาด ตั้งแต่เด็กและ จูเลียส ซีซาร์
ให้ออกรบด้วยกัน จนกระทั่งจูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร เขาเป็นบุตรบุญธรรม
และทายาททางการเมืองตามพินัยกรรม และ ครองอาณาจักรโรมันฝั่งตะวันตก ขึ้นครองราชย์เป็้นจักรพรรดิโรมพระองค์แรก
และปฏิรูปโรมอย่างสมบูรณ์ เขายึดถือว่าความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง
ไม่ได้อยู่ที่การพิชิตแต่อยู่ที่การเสริมสร้าง ออกุสตุสใช้ชีวิตที่ง่าย ๆ
ไม่ฟุ้งเฟ้อ เขาปกครองโดยรู้สำนึกถึงความคิดเห็นของประชาชนและสภาเซเนท
ตลอดจนเคารพจารีต ประเพณี แต่ออกุสตุสก็เป็นเจ้าเหนือหัวที่แท้จริงของโรม
ออกุสตุสให้สันติภาพความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง
และความยุติธรรมรวมทั้งนโยบาย “อาชีพ เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถ” ความเป็นผู้นำของเขากระตุ้นให้เกิดการมองโลกในแง่ดี
ความรักชาติ และการริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม
ยุคนี้เป็นจุดสุดยอดของความเป็นเลิศในเชิงสร้างสรรค์ของโรมและได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทอง
2. ทิเบริอุส (Tiberius) ค.ศ. 14-37 ในยุคนี้ได้มีการเพิ่มอำนาจจักรพรรดิและลดอำนาจของสภาราษฎร
สังคมโรมันเริ่มระส่ำระส่าย เขาถูกแทคซิตุส(Tacitus) ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์โรมันกล่าวหาว่า
เป็นจอมเผด็จการ แต่ทิเบริอุสเองก็ผลงานดีเด่น
คือการรวมเอาเยอรมันเข้ามารวมเข้ามารวมเป็นจักรวรรดิ
3. เนโร (Nero) ค.ศ. 54-68
เป็นจักรพรรดิที่โหดเหี้ยม เพราะฆ่าพระมารดา พระอนุชา ชายา 2 องค์
รวมทั้งพระอาจารย์ของพระองค์เองคือ เซเนคา (Seneca) รวมทั้งเป็นผู้ที่ทำการจุดไฟเผากรุงโรม
เพียงเพื่อความบันเทิงของตัวเอง ป้ายความผิดให้พวกคริสเตียน และประหารชีวิตเป็นจำนวนมาก
จักรพรรดิเนโรปลงพระชนม์พระองค์เอง ใน ค.ศ. 68
3. มาร์คุส ออเรลีอุส (Marcus
Aurelius) ค.ศ. 161-180
นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจักรพรรดิที่มี 5
พระองค์ (ค.ศ. 96-180) รัชสมัยของพระองค์นี้ถือว่าเป็นสมัยสุดท้ายของ สันติภาพโรมัน
(Pax Romana) ซึ่งคงอยู่ระหว่าง 27B.C.–180A.D. นับเป็นปีแห่งสันติสุขโรมัน
และเป็นช่วงระยะที่อารยธรรมเฮลเลนิสติคแผ่ขยายออกไปในจักรวรรดิมากที่สุด
4. คอนสแตนติน (Constantine) ค.ศ. 312-337
รวมจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิเดียวกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และย้ายเมืองหลวงจากโรมไป
ไบแซนติอุม (Byzantium) เปลี่ยนเรียกชื่อใหม่ว่า
“คอนสแตนติโนเปิล”
(Constantinople) ตามพระนามของพระองค์ (ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบุล)
โดยเจตนาจะให้เป็นศูนย์กลางของการปกครองดินแดนทั้งภาคตะวันตกและตะวันออก
แต่การทั้งนี้กลับทำให้ประชาชนเริ่มรู้สึกแบ่งแยกทางจิตใจ ทางตะวันตกซึ่งมีอิตาลี
สเปน โลกยังยึดอารยธรรมโรมันอยู่ (Romanization) แต่ทางตะวันออกซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล
และเอเชียโมเนอร์ต่างรับอารยธรรมกรีก (Hellenization) และเมื่อคอนสแตนตินประกาศ
“กฤษฎีกาแห่งมิลาน” (Edict of
Milan) แล้ว คริสตศาสนาก็สามารถเผยแพร่ในอาณาจักรโรมได้